บทสรุป 3 ปีของดราม่า CP ALL ขโมยสูตรขนมสยามบานาน่า

ติดป้ายกำกับ: 

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • ผู้เขียน
    ข้อความ
  • #1846

    3 ปีที่ก่อนเราได้รับข่าวใหญ่ เกี่ยวกับการฟ้องร้อง และการวิจารณ์ทางสังคมโดยเฉพาะโลกโซลเชียลอย่างหนักหน่วง นั่นคือวิกฤตของ CP ALL ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรง กรณีที่มีผู้กล่าวหาว่า CP ALL ได้ลอกเลียนสูตรขนมของผู้ประกอบการ Tokyo Banana

    ข่าวสยามบานาน่า

    เกิดเสียงกระเพื่อม ราวเกรียวคลื่นที่เพิ่มขนาดอันมหาศาล จนทำให้กลายเป็น talk of the town อยู่นานหลายเดือน กระแสเชิงลบมากขึ้นเรื่อยๆ และดูไม่มีทีท่าว่าจะหยุด โดยเฉพาะในโลกโซลเชียล หลายคนต่างมองไปในทางเดียวกันว่า “ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก อีกแล้วเหรอ ? ”

    3 ปีแห่งการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ CP ALL ในที่สุดข่าวสยามบานาน่าก็มาถึงบทสรุป วันนี้เราจะมาย้อนรอยสิ่งที่เกิดขึ้น และรับชมกันครั้ง ว่า ! ความจริงคือสิ่งใด

    บทสรุปแห่งโลกของธุรกิจ การจริง และความลวง

    เมื่อปี 2558 เว็บไซต์โอเคเนชั่น ได้ถูกเผยแพร่บทความ ‘โตเกียวบานาน่าไทยแบบมีกล้วยอยู่จริงๆ ที่แลกมาด้วยน้ำตา’ เนื้อหามีใจความประเดนสำคัญคือ การกล่าวหาว่า บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) คัดลอกสูตรขนมสอดไส้ครีมคัสตาร์ดรสกล้วยของผู้ประกอบการ Tokyo Banana ซึ่งเป็น SMEs รายหนึ่งที่เข้าไปติดต่อขอวางขายผลิตภัณฑ์ ขนมสอดไส้ครีมคัสตาร์ดรสกล้วย ใน 7 – 11 และมีข้อตกลงกับบริษัท ซีพีออลล์ ว่าต้องเปิดเผยสูตรขนมอย่างละเอียด หลังจากนั้น ตนได้ถูกปฏิเสธการวางขาย แต่กลับมีขนมสูตรสอดไส้ครีมคัสตาร์ดรสกล้วย ภายใต้แบรน์ของ เลอแปง ซึ่งเป็นแบรน์ในเครือของ ซีพีออลล์ วางขายใน 7 – 11 แทน

    เมื่อบทความถูกเผยแพร่ การวิจารณ์ทางสังคมก็เกิดขึ้น สร้างความกดดัน และเกิดเป็นรอยแผลสดอาการสาหัส จน ซีพีออลล์ ต้องจัดแถลงข่าว ว่า บริษัทไม่ได้ลอกเลียนแบบ เนื่องจากทาง เลอแปง มีผู้คิดค้นสูตรจำนวนมาก และสูตรนี้ก็ได้พัฒนามาตั้งแต่ปี 2557 ก่อนที่จะมีการติดต่อจาก Tokyo Banana เสียด้วยซ้ำ หลังจากนั้นเพื่อกู้ชื่อเสียง และลบเสียงวิจารณ์ทางสังคมทั้งหมด ซีพีออลล์ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้เขียนบทความดังกล่าว คือ นายชิน รติธรรมกุล ในข้อหาหมิ่นประมาท

    บทสรุปมหากาพย์ แห่งขนมสอดไส้

    ในที่สุดศาลก็ได้ตัดสินให้ นายชิน รติธรรมกุล ทำหนังสือแสดงความรู้สึกเสียใจ โดยต้องทำการเผยแพร่บันทึกประนีประนอมยอมความ และเอกสารสำคัญย่อคำฟ้องคดีอาญา ในเว็บไซต์โอเคเนชั่นภายใน 7 วัน และจบลงที่ ซีพีออลล์ ไม่ติดใจเอาความ โดยถอนคำร้องทุกข์ และยกเลิกการเรียกร้องค่าเสียหายคดีดังกล่าว

    End credit เหมือนจะจบแต่ไม่จบ?

    หลังจากนั้นเหมือนทุกอย่างจะถึงที่สิ้นสุด แต่ว่ากลับไม่เป็นเช่นนั้นเมื่อทางด้าน นายชิน ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ซีพีออลล์ จึงทำการฟ้องร้องอีกครั้ง โดยครั้งนี้ ศาลพิพากษาออกมาเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561 สรุปว่า นายชินลงประกาศเผยแพร่บันทึกประนีประนอมยอมความ และเอกสารสำคัญย่อคำฟ้องคดีอาญา ในเว็บไซต์โอเคเนชั่นภายใน 7 วัน เป็นเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 8 เดือน และชดใช้ค่าเสียหาย 80,000 บาท ให้แก่บริษัท

    และทาง ซีพีออลล์ ยังทำการฟ้องร้องไปถึงผู้ให้ข้อมูลบทความ เพื่อดำเนินคดีอาญา ซึ่งยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี และทางซีพีออลล์ยังได้ออกหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกับประชาชน เพื่อป้องกัน และให้เกิดการตระหนักในข้อมูลของข่าว และการรับสารต่างๆ ก่อนเผยแพร่ และวิจารณ์ เพื่อไม่เกิดผลร้ายแรงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง อันทำให้เสียหายต่อธุรกิจ และสิ่งอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้คนทุกคน เพื่อสร้างสังคมแห่งความตระหนักคิด และไร้ซึ่งอคติ…

    ที่มา: 3 ปีคดีโตเกียวบานาน่าเมืองไทย บทพิสูจน์ตัวตนของแบรนด์ยักษ์ใหญ่ และจุดจบของนักโพสต์ข่าวลวง

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)

คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อตอบกลับกระทู้นี้